• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


โอกาสและความเสี่ยงบนโลกการค้าออนไลน์
รายละเอียด : Tip Computer

    ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจยุคใหม่ หันมาใช้ "อินเทอรเน็ต" เพื่อทำการค้าขายมากขึ้น และทำให้ "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" หรือ E-Commerce กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการทำธุรกิจค้าขายนั้นย่อมต้องมีความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นร้านค้าบนดินหรือร้านค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



การมี "เว็บไซต์" ก็เหมือนเป็นอีก "ช่องทางหนึ่ง" ที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถพบกับผู้ขายได้เพียงแต่ต่ออินเทอร์เน็ตผ่านระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น ทำให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงร้านของผู้ขายได้จากทุกแห่งหน และด้วยโครงข่ายที่เชื่อมถึงกันทั่วโลก ทำให้คนนับล้านๆ จากอีกหลายประเทศสามารถพบเห็นร้านผู้ขายได้จากชื่อเว็บไซต์



สาเหตุประการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ "ค่าใช้จ่าย" ในการเปิดร้านด้วยระบบออนไลน์นั้นมีราคาต่ำมาก บางเว็บใช้เงินเพียงไม่กี่พันบาทก็สามารถเปิดร้านจำหน่ายให้กับคนทั่วโลกได้



ในขณะที่ร้านค้าช่องทางเดิม อาจถูกข้อจำกัดในเรื่องของ "ทำเล" และ "เงินทุน" ที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ดูจะตกเป็นรองธุรกิจทุนใหญ่ สายป่านยาว



นอกจากนั้น "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" ยังมีระบบรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ทำให้ผู้ซื้อสะดวกสบายในการชำระเงิน (ล่วงหน้า) ได้ทันทีหลังจากเลือกสินค้าแล้ว



อย่างไรก็ตาม "โอกาส" เหล่านี้ยังคงมี "ความเสี่ยง" แฝงอยู่



"ความเสี่ยง" ในด้านของ "ผู้ซื้อ" หลังจากใส่ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตของตนผ่านเว็บไซต์ไปแล้ว อาจจะโดนขโมยข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยที่เจ้าของบัตรอาจได้รับความเดือดร้อนภายหลัง



ดังนั้น ทุกครั้งที่ "ผู้ซื้อ" ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์จึงควรตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยให้ดีเสียก่อน ว่าเว็บนี้มีระบบรักษาความปลอดภัยหรือไม่



การตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยของผู้ซื้อก็ดูจาก URL ว่า ข้างหน้าชื่อเว็บเพจที่จะเข้าสู่ระบบการจ่ายเงินนั้น พิมพ์ขึ้นต้นด้วย https://........................"หรือไม่ จากนั้นดูทางขวามือล่างของเว็บไซต์ว่ามีรูปกุญแจอยู่หรือไม่ ลองคลิกรูปกุญแจดูก็จะปรากฏ Pop Up ใบรับรอง มีชื่อ เว็บไซต์ ลองตรวจสอบดูว่าชื่อในใบรับรองนี้ตรงกับเว็บไซต์ที่กำลังใช้บริการหรือไม่, องค์กรใดเป็นผู้ออกใบรับรองนี้และใบรับรองนี้หมดอายุหรือยัง



"นักช้อปปิ้งออนไลน์" ควรจะได้ตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะใส่ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตของตนลงไป



ระบบป้องกันความเสี่ยงอย่างหนึ่งของผู้ซื้อออนไลน์ ก็คือ ธนาคารผู้ให้บริการบัตรเครดิต ยังให้สิทธิผู้ถือบัตรปฏิเสธการจ่ายเงินได้ ในกรณีที่ผู้ถือบัตรนั้นไม่ได้ทำรายการ, หรือไม่ได้รับสินค้า ดังนั้น เจ้าของบัตรเครดิตจึงควรตรวจสอบรายการซื้อสินค้าของตนทุกครั้ง หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ให้ไปชำระเงิน หากมีรายการใดที่ตนไม่ได้ใช้ก็สามารถทำเรื่องปฏิเสธเฉพาะรายการนั้นๆ ได้ โดยอาจขอหลักฐานจากธนาคารเพิ่มเติมก่อนชำระเงินได้



ด้วยเหตุนี้ จึงมี "ผู้ซื้อของออนไลน์" จำนวนมาก นิยมใช้ช่องทางชำระเงินค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิตมากกว่าช่องทางการชำระเงินด้วยวิธีอื่น เช่น หากโอนเงินให้ผู้ขายทางธนาคาร ก็มีความเสี่ยงสูง ในกรณีที่ผู้ขายไม่ยอมส่งสินค้ามาให้



ในขณะที่ความเสี่ยงของ "ผู้ซื้อ" ถูกคุ้มครองด้วยบริการของธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรเครดิต "ผู้ขาย" กลับต้องเผชิญความเสี่ยงอย่างโดดเดี่ยว ?



"ความเสี่ยง" ที่ผู้ขายต้องเผชิญก็คือการส่งสินค้าไปให้กับผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของบัตร หรือทุจริตชนผู้ที่นำหมายเลขบัตรของผู้อื่นมาแอบทำรายการเพื่อ "ยักยอก" สินค้าของผู้ขาย



ความเสียหายนี้ นอกจากผู้ขายจะต้อง "เสียของ" แล้ว ยังต้องเสียค่าขนส่งให้โจรออนไลน์ และเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารอีก 3-5 % และอาจถูกปรับในกรณี Chargeback อีก 200 บาทอีกด้วย



ความเสียหายเหล่านี้เอง จึงทำให้ผู้ขายหลายรายเกิดอาการ "ขยาด" ที่จะลงทุนทำอีคอมเมิร์ช โดยลืมไปว่า หากตนต้องไปเช่าร้านค้าขายตามสถานที่ต่างๆ ก็อาจจะมีผู้ไม่หวังดี หยิบฉวยสินค้าไป โดยไม่จ่ายสตางค์



ข้อดีของการค้าออนไลน์อย่างหนึ่งก็คือการที่ผู้ทุจริตไม่สามารถหยิบสินค้าที่จับต้องได้ออกจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้



ผู้ขายเท่านั้นจะต้องเป็นผู้จัดสินค้าลงบรรจุภัณฑ์แล้วให้บริษัทขนส่ง ส่งสินค้าไปให้



ดังนั้น "ผู้ขาย" จึงยังมีเวลาที่จะตรวจสอบ ประวัติของผู้ซื้อให้แน่ชัดว่า "เจ้าของบัตรตัวจริง" ที่ทำรายการสั่งซื้อ



เริ่มจากกระบวนการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้ซื้อจะต้องกรอกหมายเลข 16 หลักหน้าบัตร และ 3 หลักสุดท้ายที่อยู่หลังบัตร จากนั้นต้องกรอกชื่อธนาคารผู้ออกบัตร ชื่อเจ้าของบัตรและวันหมดอายุ



ข้อมูลจะถูกส่งไปให้ธนาคารผู้ซื้อตรวจสอบและออกหมายเลขรหัสอนุมัติให้กับธนาคารผู้ขายรวมถึงผู้ขายด้วย



ระบบฯ จะตรวจสอบได้เพียง ชื่อและหมายเลขเจ้าของบัตรตรงกันหรือไม่, มีวงเงินเพียงพอสำหรับการชำระค่าสินค้าในขณะนั้นหรือไม่ และบัตรหมดอายุหรือไม่



สิ่งสำคัญคือไม่สามารถตรวจสอบหรือระบุได้ว่า ผู้ที่ทำรายการขณะนั้นเป็นเจ้าของบัตรหรือไม่ ทางบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตบางแห่ง จึงพยายามที่จะให้เจ้าของบัตรทำเรื่องขอ Password เพื่อไว้ใช้กรอกเพิ่มเติมในการสั่งซื้อของออนไลน์ ซึ่งการกรอก Password นี้จะเป็นการระบุตัวตนของผู้ใช้บัตรได้อย่างชัดเจน น่าเสียดายที่ระบบนี้ยังไม่แพร่หลาย หรือได้รับความนิยมเท่าที่ควร



เพราะนัยยะหนึ่งก็คือ "ความเสี่ยง" จากการปฏิเสธการใช้บัตรในกรณีนี้ จะกลับไปเป็นภาระของผู้ถือบัตรเอง



ดังนั้น ก่อนที่ "ผู้ขาย" จะจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าทุกครั้ง จึงควรมีระบบป้องกันความเสี่ยงดังต่อไปนี้



1. ในกรณีที่เป็นลูกค้ารายใหม่ และสั่งซื้อสินค้าในลักษณะที่ผิดปกติ เช่น ยอดสูงเกิน, หรือการสั่งซื้อสินค้าที่นิยม, สินค้าที่แปรเปลี่ยเป็นเงินได้ง่าย ควรจะตรวจสอบหมายเลขอนุมัติของธนาคาร โดยกลับไปสอบทานกับผู้ซื้อสินค้าในรายการนั้น บางเว็บไซต์ใช้มาตรการให้ผู้ที่ทำรายการสั่งซื้อต้องสแกนหน้าบัตรเครดิตด้านหน้าและหลังที่มีลายเซ็นต์ผู้ถือบัตรมาให้ตรวจสอบด้วยว่า เป็นเจ้าของบัตรเครดิตตัวจริง



2. การที่ลูกค้าให้ส่งของไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงทุจริตสูง โดยวิธีการนี้ผู้ขายสามารถตรวจสอบจากธนาคารผู้ให้บริการ Merchant ID กับตนว่าชื่อธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต กับสถานที่ส่งสินค้าไปให้นั้นมีความสอดคล้องกันหรือไม่ เช่นส่งไปในประเทศที่ไม่มีธนาคารของผู้ถือบัตรเครดิตเลย ในกรณีนี้อาจจะเป็นไปได้ว่า เจ้าของบัตรซื้อสินค้านี้ให้กับบุคคลอื่น ผู้ขายก็ต้องขอหลักฐานอื่นของผู้ซื้อมายืนยันอีกครั้ง



3. การตรวจสอบจาก IP ADDRESS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หากผู้ขายเจอกรณีที่ได้รับคำสั่งซื้อต้องสงสัยก็สามารถสอบถามลักษณะการทำรายการกับธนาคารผู้ให้บริการ Merchant ID ว่าผู้ซื้อทำรายการสั่งซื้อมาจาก IP ประเทศไหน สอดคล้องกับที่อยู่ของผู้รับสินค้าหรือไม่ เพราะโจรออนไลน์ในปัจจุบันมีวิวัฒนาการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ โดยอาศัยเทคโนโลยี "แชท" เกลี้ยกล่อมให้ผู้อาศัยอีกประเทศหนึ่งรับสินค้านี้ไว้ แล้วค่อยแบ่งสินค้าส่งมาให้ตนทีหลัง กรณีนี้เคยเกิดคดีที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย มาแล้ว ดังนั้นผู้ขายที่ได้รับยอดซื้อสูงผิดสังเกตุ หรือผู้ขายสินค้าที่แปรเปลี่ยนเป็นเงินง่าย เช่น เพชร พลอย อัญมณี เครื่องประดับที่มีมูลค่าสูง จึงควรรอบคอบตรวจสอบให้ดีเสียก่อน หรือลักษณะการทำรายการสั่งซื้อที่ถี่ผิดปกติผู้ซื้อทั่วไป พฤติกรรมเหล่านี้สามารถให้ธนาคารผู้ขายตรวจสอบให้เรียบร้อยว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าของบัตรตัวจริงเสียก่อน มิฉะนั้นอาจต้องเสียสินค้าไปฟรี แล้วต้องมาใช้หนี้ 3% ที่ตนไม่ได้ก่ออีก แถมถ้าทำรายการแล้วถูก Chargeback บ่อยๆ ธนาคารอาจขึ้นบัญชีดำอีก



การทำ "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" นั้นมีทั้ง "โอกาส" และ "ความเสี่ยง" อยู่ที่ผู้เกี่ยวข้องจะเรียนรู้ และหาวิธีรับมือกับความเสี่ยงนี้ในรูปแบบใด ?



ทิปจาก www.itforsme.com



COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน