• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


รู้จักกับไฟล์ในรูปแบบ MP3, WAV, WMA และ AAC
รายละเอียด :     รูปแบบไฟล์ MP3 มาตรฐานการบีบอัด MPEG audio (MPEG-1 และ MPEG 2/Audio Layer III) ได้รับการพัฒนาจาก Motion Picture Experts Group (ซึ่งเรียกกันว่า MPEG) คำว่า MP3 ที่เรารู้จักเป็นมาตรฐานที่เรียกกันสั้นๆ โดยเป็นกระบวนการบีบอัดเสียงในแบบดิจิตอลเพื่อให้มีขนาดเล็กลง สามารถจุเพลงได้มากขึ้น



รูปแบบไฟล์เพลงบนแผ่นซีดีจะเป็นในรูปแบบ .WAV โดยจะมีขนาดไฟล์ประมาณ 30-50 MB ต่อเพลง (ความยาว 3 – 5 นาที) ด้วยการลดค่า bit-rate ในการบีบอัดไฟล์เพลงในรูปแบบ MP3 ให้คุณภาพเสียงที่ใกล้เคียงกับซีดี โดยมีขนาดไฟลฺ์ที่เล็กกว่าต้นฉบับถึง 10 เท่า ซึ่งเมื่อแปลงเป็นเพลงจากซีดีอยู่ในรูปแบบ MP3 จากเดิมที่ใช้เนื้อที่มากถึง 30-50 MB ต่อเพลง เหลือเพียง 3 – 5 MB ต่อเพลงเท่านั้น



ดังนั้นไฟล์ในรูปแบบ .WAV มีคุณภาพเสียงที่ 44 KHz (มาตรฐานของ CD audio) เมื่อบีบอัดจะมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 3MB เท่านั้น เมื่อเทียบกันแล้วไฟล์เพลงความยาว 1 นาที ใช้เนื้อที่เพียง 1 MB เท่านั้น (ที่คุณภาพเสียง 128kbps)



จุดเปลี่ยนของประสบการณ์ใหม่บนโลกแห่งความบันเทิง



เรามารู้จักไฟล์เพลงในรูปแบบต่าง ๆ กัน

MP3 ได้รับความนิยมเนื่องจากขนาดไฟล์ที่เล็ก ถ่ายโอนได้ง่าย ดังนั้นสื่ออินเตอร์เน็ตจึงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมในการแพร่กระจายเพลงในรูปแบบ MP3 โดยเพลงในรูปแบบนี้ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อย ทำให้จุเพลงได้มาก นอกจากนี้ยังมีไฟล์รูปแบบอื่นๆอีกเช่น



WAV เกิดจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาของ Microsoft และ IBM ที่พยายามผลักดันให้เป็นมาตรฐานไฟล์เพลงบนพีซี โดยเพลงจากแผ่นซีดี สามารถแปลงเป็นไฟล์ในรูปแบบ WAV และยังสามารถนำไปแปลงต่อเป็น MP3 หรือ WMA ได้อีกด้วย



WMA มาตรฐานนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Windows Media Audio รูปแบบการบีบอัดที่ใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟต์ที่พยายามผลักดันและสร้างรูปแบบไฟล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไมโครซอฟต์ขึ้นมา โดยมีคุณภาพใกล้เคียง MP3 แต่มีขนาดที่เล็กกว่าถึง 50 เปอร์เซ็นต์



AAC มาจาก Advanced Audio CODEC รูปแบบไฟล์บีบอัดอีกรูปแบบหนึ่งที่นับวันจะได้รับการยอมรับ และจะเป็นรูปแบบไฟล์แห่งอนาคต โดยมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า MP3 แต่มีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่า มี bit-rates ต่ำกว่า



สำหรับไฟล์ AAC ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดย MPEG group ซึ่งรวมไปถึง Dolby, Fraunhofer (FhG), AT&T, Sony, และ Nokia จะเห็นได้ว่ามีทั้ง Sony และ Nokia เข้าร่วมด้วย ดังนั้นไฟล์นี้ยังมีอนาคตไกลเพราะสามารถนำมาเป็นเสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือ หรือฟังจากมือถือก็ได้ สำหรับบริษัทต่างๆที่ร่วมกันพัฒนานี้เคยพัฒนารูปแบบไฟล์ MP3 และ AC3 (หรือที่รู้จักกันในนาม Dolby Digital)



RealAudio – ชื่อนี้ไม่มีใครไม่รู้จักกับยักษ์ใหญ่แห่งวงการวิทยุออนไลน์ RealNetworks รูปแบบไฟล์เพลง RealAudio G2 นับว่าเป็นรูปแบบการบีบอัดภาพและเสียง สำหรับการเล่นภาพและเสียงออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบ streaming

OGG – หลังๆนี่หลายคนอาจสงสัยว่าไฟล์แบบ OGG เป็นยังไง เมื่อก่อนหากจะเล่นกับ Winamp รุ่นก่อนๆ ต้องติดตั้งปลั๊กอินด้วยเพื่อให้รับฟังเพลงแบบ OGG ได้ สำหรับรูปแบบ OGG นี้มาจากเทคโนโลยี Ogg Vorbis ซึ่งเป็นรูปแบบการบีบอัดแบบใหม่ เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีแบบเปิด ที่ให้อิสระในการเข้ารหัส การแปลง เมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นเช่น MP3, VQF, AAC และรูปแบบไฟล์เพลงแบบอื่นๆ จะแตกต่างกัน ชื่อไฟล์เพลงในรูปแบบ Ogg มาจากเทคโนโลยีของ Xiph.org ซึ่งรวมเอาข้อมูลเสียง ภาพ และข้อมูลอื่นๆไว้ด้วยกัน ส่วนคำว่า Vorbis มาจากรูปแบบที่ได้รับการออกแบบการบีบอัดแบบ Ogg ในไทยนั้น มีไฟล์แบบ OGG ให้เห็นกันบ้าง แต่ยังไม่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากนัก

สำหรับไฟล์อีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักคือ ASF ที่ได้รับการพัฒนาโดยย Liquid Audio และ Audible.com



จะเห็นได้ว่าปัจจุบันไฟล์ในรูปแบบ MP3 ได้รับความนิยมจากคนทั่วไป และเชื่อมโยงไปยังธุกิจคอมพิวเตอร์ในด้านความบันเทิงผ่านซอฟต์แวร์เล่นเพลง MP3 ชื่อดังอย่าง Windows Media Player Music Match Jukebox และ Winamp ส่วนอุปกรณ์เล่นเพลงดิจิตอลแบบพกพาก็ได้รับควานิยมมากกว่ารูปแบบการฟังจากแผ่นซีดีทั่วไป



เพลงในรูปแบบ MP3 เป็นไฟล์ที่ได้รับการบีบอัด ดังนั้นจากการบีบอัด คุณภาพเสียงที่ดี ย่อมใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าซีดีเพลงจะเก็บเพลงได้ประมาณ 15 – 20 เพลงเท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับไฟล์ในรูปแบบ MP3 แล้ว สามารถเก็บเพลงได้มากถึง 200 เพลงเลยทีเดียว ไฟล์เพลงในรูปแบบ MP3 ได้รับการบีบอัดในคุณภาพเสียงที่ดี (128 kb/s) ทำให้ใช้เนื้อที่ในการเก็บเพลงน้อยกว่าซีดีถึง 10 เท่า นั่นหมายความว่า ไฟล์ในรูปแบบ MP3 ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อยกว่า แต่ยังคงคุณภาพเสียงที่ดีอยู่ หากเทียบกันแล้ว เมื่อนำซีดีมาแปลงในรูปแบบของ WAV เพลงความยาว 4 นาที ใช้เนื้อที่เก็บเพลงประมาณ 40 MB ส่วนเพลง ในรูปแบบ MP3 เพลงเดียวกัน ใช้เนื้อที่เก็บเพียง 4 MB เท่านั้น จะเห็นได้ว่าเพลงในรูปแบบ MP3 ช่วยประหยัดเนื้อที่ในการเก็บเพลงได้มาก จึงนำมาใช้กับเครื่องเล่นแบบพกพาที่สามารถบรรจุเพลงได้มากๆ ตามขนาดหน่วยความจำ โดยคุณภาพเสียงยังอยู่ในระดับที่ดี ใกล้เคียงกับซีดี



สำหรับการแปลงเพลงในรูปแบบ MP3 การเข้ารหัสหมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไฟล์เสียงเป็นไฟล์ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยรูปแบบเสียงที่แปลงจะเป็นไฟล์ในรูปแบบ mp3 ได้แก่ เครื่องเล่นซีดี CD เครื่องเล่นเทปคาสเซต เครื่องเล่นคอมโปเน้นต์ เสียงที่บันทึกจากโทรทัศน์ หรืออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ



ในการอ่านรายละเอียดของเครื่องเล่น MP3 บางท่านอาจเห็นคำว่า Firmware Upgrade อธิบายง่ายๆ คล้ายๆกับมือถือ หากซื้อมาจะมี Firmware คล้ายๆกับ Software ที่รันบนระบบปฏิบัติการ เหมือนๆกับ Windows หากมี Firmware ออกใหม่ เช่น เมนูไทย อ่านเนื้อเพลงภาษาไทยได้ อ่านชื่อเพลงไทยได้ อัพเกรดแล้วมีลูกเล่นเพิ้มขึ้น หรือเครื่องค้างบ่อย (เหมือนๆกับคอมพิวเตอร์) ก็อัพเกรด Firmware ช่วยแก้ปัญหาได้ คล้ายๆกับการ update BIOS ของคอมพิวเตอร์นั่นเอง ดังนั้น Firmware เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์สมัยนี้จะมีทั้งนั้น เช่นโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล โมเด็ม เช่น 33.6 เป็น 56k หรือการอัพเกรดซีดีรอมไดร์วให้มีความเร็วสูงขึ้น ดังนั้นหากมี firmware ออกใหม่ จะทำให้เครื่องเล่นของท่านมีความสามารถ มีลูกเล่นใหม่ๆ แก้ปัญหาเครื่องค้าง แก้ปัญหาบั๊กต่างๆ (คล้ายๆกับการติดตั้ง service pack หรือ Patch ของ Windows XP) โดยเราจะเรียกว่า Firmware upgrade โดยท่านสามารถดาว์นโหลดได้จากเวปไซต์ผู้ผลิตเครื่องเล่นเอ็มพีสาม



หลายๆคนอาจสงสัยว่า เวลาอ่านสเปคเครื่องเล่น MP3 หรือแม้แต่โปรแกรม Winamp คำว่า ID3 tag ติดอยู่ในหัวเพราะสงสัยว่ามันคืออะไร ยกตัวอย่างง่ายๆคือการบอกรายละเอียดเพลง ชื่อเพลง ชื่อนักร้อง วง ค่าย สังกัด แนวเพลง ปีที่ออกอัลบัม ลำดับแทรคเพลง เพื่ออะไรนะเหรอ ไม่ใช่เพื่อบอกว่าเพลงของใคร นักร้องคนใด แต่เป็นเหมือนลายเซ็นต์หรือเป็นการบ่งบอก แจ้ง ประกาศลิขสิทธิ์เพลง ว่าค่ายนี้ นักร้องคนนี้ สังกัดนี้ เพื่อให้ทราบว่าเพลงมีลิขสิทธิถูกต้อง Copyright โดยใช้โปรแกรม "Studio3" จาก Eric Kemp alias NamkraD ปี 1996 ใส่รายละเอียดต่าง ๆ เข้าไปในเพลงเพื่อเป็นข้อมูลของเพลงและประกาศลิขสิทธิ

ในการใส่รายละเอียดของ tag จะแทนรายละเอียดเป็นข้อมูลที่เครื่องเล่นสามารถอ่านได้ตามตาราง โดยขนาดของ tag จะมีขนาดประมาณ 128 bytes ในการอ่านข้อมูล tag จะบอกรายละเอียดดังนี้

Song title 30 characters

Artist 30 characters

Album 30 characters

Year 4 characters

Comment 30 characters

Genre 1 byte

หากเครื่องเล่นของท่านมีคุณสมบัติในการอ่านไฟล์ ID3 tag ตัวเครื่องจะอ่านข้อมูล tag ขนาด 128 Bytes หากรวมข้อมูลจากตาราง 30+30+30+4+30+1 เท่ากับ 125 bytes ไม่ถึง 128 bytes เนื่องจากไฟล์ขนาด 3 bytes จะอยู่ตอนต้นของ tag ก่อนข้อมูล song title โดยเครื่องจะอ่าน "TAG" จากไฟล์ 3 bytes ให้พบก่อน แล้วจึงแสดงข้อมูลดังตารางในรูปแบบ ID3 tag เข้าใจง่ายๆคือเป็นการแสดงรายละเอียดของเพลง แต่สำหรับเพลงไทยที่แปลงมาจากซีดีหรือซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิจะไม่มีรายละเอียดแสดง แต่หากเป็นเพลงสากลหรือเพลงที่บันทึกในห้องอัดคุณภาพดีๆ จะมีรายละเอียดของเพลงครบถ้วน

ข้อมูลจาก www.comseven.com



COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน