• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


10 วิธี ดูแลฮาร์ดดิสก์ ให้ใช้ได้นาน ๆ
รายละเอียด :     โปรแกรมที่คุณใช้งานอยู่เป็นประจำทำงานช้าลงหรือเปล่า? หรือพีซีอายุใช้งาน 4 เดือนของคุณมีอาการงอแงหรือไม่? ต่อไปนี้คือวิธีการแก้ปัญหาและเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์ตัวเก่งของคุณ



การเป็นเจ้าของและใช้งานฮาร์ดดิสก์โดยไม่เคยสแกนตรวจสอบ ก็เหมือนกับการมีรถยนต์คันหรูที่เอาแต่ขับอย่างเดียวไม่เคยเข้าศูนย์บริการ ซึ่งทิปต่อไปนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงแรงมากนัก เพียงแค่เจียดเวลาสักนิดในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนใหม่และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ



1. สแกนหาไวรัส



จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญ และหมั่นทำเป็นประจำ เราคงไม่ต้องบอกคุณแล้วว่าไวรัสในปัจจุบันนั้นมีฤทธิ์เดชร้ายแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าให้คุณลองนึกถึงตอนที่ไฟล์ข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ถูกทำลาย หรือเสียหายเพียงแค่เพราะว่าคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเอาไว้ในเครื่อง หรือใครที่ติดตั้งเอาไว้แล้วก็ไม่ควรชะล่าใจ ลองตรวจสอบวันที่ของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) ถ้าเก่าเกินกว่า 30 วันก็ควรรีบทำการอัปเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบัน เพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประจำทุกสัปดาห์



2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้



ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราวที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ต รวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดวส์ ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์ขยะเหล่านี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดวส์หรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options)



3. กำจัดขยะในซอกหลืบ



แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้หมายรวมถึงบรรดาสปายแวร์ หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัปเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย



4. หมั่นใช้สแกนดิสก์



เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เกิดบกพร่องเสียหาย เรามักจะใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า “Bad Sector” ซึ่งมีความหมายว่าบริเวณพื้นผิวของจานแม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดวส์ในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน นอกจากนี้หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98/Me แนะนำให้ปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่ม Scandisk ด้วย



5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ



โปรแกรม Defragmenter ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาให้ไกลเพราะมีอยู่ในวินโดวส์ทุกเวอร์ชันแล้วนั้น จะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์อย่างสะเปะสะปะให้มีระเบียบ และเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนัก และใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง และโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าโปรแกรมจะจับไฟล์ในโฟลเดอร์ของคุณไปสลับสับเปลี่ยน หรือเรียงไว้ในโฟลเดอร์อื่นๆ จนหาไม่เจอ เพราะการ Defrag นั้นจะทำการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลบนดิสก์เท่านั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการเก็บไฟล์ในวินโดวส์แต่อย่างใด



6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่



ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นวินัยส่วนตัวก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้าหรือฮาร์ดดิสก์ ก็ล้วนต้องการระบบระเบียบในการจัดเก็บที่ดีด้วยกันทั้งนั้น ฟังดูอาจเป็นงานที่น่าเบื่อ แต่ถ้าฝึกให้เป็นนิสัยตั้งแต่แรกก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนใครที่ยังเก็บไฟล์ทุกชนิดทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารเวิร์ด ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ ปนกันมั่วไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เตรียมตัวเตรียมใจกับเรื่องปวดหัวในการค้นหาไฟล์เมื่อต้องการใช้งานให้ดี แต่ถ้าไม่อยาก ... ก็สละเวลาจัดการจัดไฟล์ลงโฟลเดอร์ให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่วันนี้



7. แบ็กอัปข้อมูล



ไม่มีฮาร์ดดิสก์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่จะมีอายุยืนยาวอยู่กับคุณไปตลอดกาล แต่ถึงแม้ในที่สุดฮาร์ดดิสก์ของคุณจะหมดอายุขัย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลทั้งหมดที่เก็บอยู่ในนั้นจะสูญหายไปด้วย เพียงแต่สิ่งที่คุณควรต้องหมั่นทำเป็นกิจวัตร ก็คือการแบ็กอัปไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เก็บไว้ในฟล๊อบปี้ดิสก์ แผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าที่กล่าวมานั้นมันยุ่งยากหรือทำให้คุณลำบากเกินไป แนะนำให้ใช้ทัมป์ไดรฟ์ที่ปัจจุบันมีราคาแสนถูก และถ้าไม่ลำบากเงินในกระเป๋าจนเกินไปเลือกรุ่นที่จุ 128MB ขึ้นไปจะดีมาก



8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง



เมื่อคุณกดปุ่ม Delete เพื่อลบไฟล์ ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าไฟล์ข้อมูลของคุณจะถูกลบออกไป แต่ในทางทฤษฎีนั้น ไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจริงๆ เพียงแต่วินโดวส์จะทำเครื่องหมายไว้ในพื้นที่ส่วนนั้นๆ ว่าเป็นที่ว่าง และเมื่อใดที่มีการเขียนไฟล์ข้อมูลก็สามารถเขียนทับตำแหน่งนั้นๆ ได้ นอกจากนี้วินโดวส์จะนำไฟล์ที่คุณลบไปใส่ไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจพลาด หากใครช่างสังเกตจะพบว่าแม้จะลบไฟล์ข้อมูลไปแล้วแต่พื้นที่ว่างในอาร์ดดิสก์นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะข้อมูลนั้นๆ ยังนอนรอชะตากรรมอยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) นั่นเอง ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือไม่ต้องการให้ใครมาแอบคุ้ยถังขยะเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป แนะให้คลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดขยะในถังให้สิ้นซาก



9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล



ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปที่ออกมาจากโรงงานนั้น จะไม่มีการแบ่งพาร์ทิชันเอาไว้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือซื้อ 80GB ก็จะได้ไดรฟ์ C: ความจุ 80GB มาใช้งาน แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้คุณทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ 80GB นำมาแบ่งเป็น 2 พาร์ทิชัน พาร์ทิชันละ 40GB ซึ่งคุณก็จะได้ไดรฟ์มาใช้งาน 2 ไดรฟ์คือไดรฟ์ C: และไดรฟ์ D: ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนอกจากจะช่วยลดภาระของหัวอ่านและเพิ่มความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว คุณยังสามารถแยกไฟล์สำคัญๆ มาเก็บไว้ในไดรฟ์แยกต่างหากจากไดรฟ์ที่ติดตั้งวินโดวส์ ซึ่งอาจโดนไวรัสเล่นงานจนเสียหายได้อีกด้วย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้นคุณสามารถทำได้ในขณะที่ติดตั้ง Windows XP เลย แต่ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่เป็นไร เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการนี้มากมาย ซึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่โปรแกรม Partition Magic



10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน



วิธีการที่ผ่านมานั้นสามารถช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณสามารถทำงานได้เร็วขึ้นได้อีกเล็กน้อย อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังมองหาหรือตัดสินใจซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ แนะนำให้พิจารณาเลือกรุ่นความเร็วที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่คุณต้องการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็ก 5,400 RPM (รอบ/นาที) ที่มีราคาถูกถ้าคุณใช้เพียงโปรแกรมทั่วๆ ไปเช่น เล่นอินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล หรือพิมพ์งานด้วยโปรแกรมเวิร์ด หรือถ้างานของคุณเกี่ยวกับการตกแต่งภาพถ่าย เล่นเกม ก็อาจเลือกซื้อรุ่น 7200 RPM หรืออาจจะเป็น 10,000 RPM เลยก็ได้หากทำงานประเภทตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็กสูงและมีขนาดของแคชภายในมากจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับคุณมากยิ่งขึ้น



ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์



COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน