• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


ทำเน็ตเวิร์คให้ใหญ่...แต่ไม่เปลือง
รายละเอียด :     ถ้าโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เมื่อเราพูดถึงเน็ตเวิร์คที่มีพอร์ตจำนวนหลายร้อยพอร์ต เราก็มักจะนึกถึงสวิตช์ตัวโต ๆ เช่น Chassis ตัวบ๊ะเฮิ่มของยี่ห้อฝรั่งที่มีราคาเฉียดล้าน แค่ฟังราคา ขนหน้าแข้งก็ร่วงหมดแล้วครับ หรือไม่ก็ไปนึกถึงสวิตช์ตัวเล็กแต่พอร์ตเยอะ ๆ เช่น 48 พอร์ตแล้วเอาแต่ละตัวมาสแต็กกันหลาย ๆ ชั้น โบ๊ะกันเข้าไปจนกว่ากระเป๋าจะฉีก คำถามมีอยู่ว่า ทำไมเราต้องไปเสียเงินขนาดนั้น ผมเข้าใจครับว่าต้องการ Management ซึ่งหาไม่ได้ในสวิตช์ราคาถูก เพราะถ้าไม่งั้นเราก็เอาสวิตช์ตัวละ 24 พอร์ตมา uplink กันซะก็หมดเรื่อง และผมก็เข้าใจอีกว่า ในบางจุดที่เป็น Backbone นั้นเราก็ควรจะใช้ Gigabit เข้ามาช่วย เพื่อจะไม่ให้ Backbone นั้นเป็นจุดคอขวด และยังมีความต้องการอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งทั้งหมดนี้ฟังดูเหมือนเป็นเหตุผลว่า ยังไงเราก็ต้องควักเงินซื้อของแพง ๆ มาใช้...แต่



ผมอยากจะให้ลองคิดถึงความเป็นจริงดูบ้างครับ ความจริงที่เราพยายามปฏิเสธ แต่มันก็เกิดขึ้นจริงอยู่ทุกวี่ทุกวัน จะพูดว่าเกิดขึ้นกับเน็ตเวิร์คส่วนใหญ่เลยก็ได้ คือ...



ซื้อมาแล้วใช้ไม่เต็มที่

ระบบเน็ตเวิร์คแบบ Management นั้น ซื้อมาแล้ว แต่ใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่มีการประยุกต์ใช้ Monitoring Tools เข้ามาเกี่ยว หรือแม้กระทั่ง SNMP Agent ง่าย ๆ นี่บางทียังไม่รู้จักกันเลย ผมยังเคยเจอลูกค้าบางรายที่พึ่งมาค้นพบว่า เราสามารถจะตั้ง IP ให้กับสวิตช์ได้หลังจากซื้อมันมาใช้แล้ว 3 ปี !!! เฮ้อ...เสียดายของ

ใช้แล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครอ่าน

บางทีบริษัทที่เขารับติดตั้งระบบเครือข่าย อาจจะจัดการเรื่องของ Monitoring Tools มาให้ทั้งหมด ติดตั้งซอฟต์แวร์ให้ซะเรียบร้อย จัด Monitoring topic เอาไว้ซะดิบดี แต่ดันไม่มีใครมานั่งดู Data Logging ก็เก็บอยู่ทุกชั่วโมงทุกวัน แต่หามีใครมาเบิ่งตาดูไม่ อันนี้ก็ไม่รู้จะ Monitor กันไปทำไม

อ่านแล้ว แต่แปลไม่ได้

แบบนี้ก็เคยเจอครับ ถามว่าอ่าน report ที่ตัว Management มันรายงานกันหรือเปล่า โอ้...อ่านครับ แล้วทีนี้ชี้ไปที่ report ว่าไอ้นี่คืออะไร ถ้าตัวเลขนี้มันสูงอย่างนี้แปลว่าอะไร แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นปัจจุบันในเน็ตเวิร์ค มันเกี่ยวกับตัวเลขตัวนั้นตัวนี้อย่างไร แล้วจะแก้อย่างไรโดยเอาข้อมูลใน report มาช่วยในการตัดสินใจ ฯลฯ ตอบม่ายด้ายคร้าบ...โถ

VLAN เจ้าปัญหา

บางที่นี่เขาจัด VLAN เอาไว้ซะเริ่ดหรู แบ่งกลุ่มโน้นกลุ่มนี้ ตามโต๊ะ ตามแผนก ตามตึก ตามที่นั่ง ตามพาร์ติชั่น เอากันซะให้ยุ่บไปหมด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีครับ Security เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง แต่ว่า...พอสวิตช์ตัวใดตัวหนึ่งในเน็ตเวิร์คมีปัญหา กลายเป็นว่าเจ้า VLAN นี่แหละ ที่กลายเป็นตัวถ่วงเวลา กว่าสวิตช์ตัวใหม่จะเริ่มทำงานอย่างมี Security ได้ ทำงานแบบมี VLAN เหมือนเดิมอย่างที่จัดเอาไว้ เล่นเอา Admin ผมหงอกไปหลายเส้น ไอ้วันแรกที่จัด VLAN นี่ไม่ยากหรอกครับ เพราะคู่มือของสวิตช์เราก็นั่งอ่าน เวลาจะทดลองปรับค่าตรงโน้นตรงนี้ในสวิตช์เราก็มี แต่ลองนึกถึงอีก 3 ปีถัดไปสิครับ ทีนี้คู่มือของสวิตช์ก็หายไปแล้ว จำหน้าจอจำคำสั่งก็จำไม่ได้แล้ว แล้วจะไปจัด VLAN ให้เหมือนเดิมได้ยังไง เมนูของสวิตช์ยังจำไม่ได้เลย แล้วมันก็ไม่น่าจะเป็น เรื่องต้องมานั่งท่องจำด้วย ซึ่งตรงนี้บางที่อาจจะแก้ปัญหาด้วยการทำเอกสารประกอบ ชี้แจงผังของ VLAN ออกมาอย่างชัดเจน แถมมีหน้าจอของการจัด config ของสวิตช์ประกอบให้ซะอีก หรูเริ่ดอลังการดาวล้านดวง ข้อดีก็คือความชัดเจนในการทำงาน แต่ข้อเสียก็คือความชัดเจนในการทำงานนั่นแหละครับ เพราะทุกครั้งที่จะมีการแก้ไข VLAN ให้เป็นไปตามการเติบโตขององค์กร หมายถึงการแก้เอกสารอีกกองมหึมา แล้วจะทำไงได้ ไม่ทำเอกสาร ก็มีปัญหาเดิมอีก

ค่าใช้จ่ายสูง

เน็ตเวิร์คที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ราคาแพง ไม่ได้หมายความว่าจ่ายเงินซื้อมันมาแล้วจะหมดเรื่องกันไป เพราะของแพง ย่อมหมายถึงอะไรอื่น ๆ ที่แพง ๆ จะตามมาถลุงกระเป๋าได้หลายอย่าง เช่น Admin ค่าตัวแพง, ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ประกอบราคาแพง, ค่าบำรุงรักษาหรือค่า MA ราคาแพง ฝรั่งเขาเรียกค่าใช้จ่ายพวกนี้ว่า CO หรือ Cost of Ownership ครับ นี่เป็นความจริงอีกข้อหนึ่งที่มักจะถูกมองข้ามไป

โปรดอย่าพึ่งเข้าใจว่าผมกำลังประโคมโหมไม่ให้ซื้อของดี ๆ มาใช้นะครับ ของแพงและดีมีถมไป น่าซื้อน่าใช้ท้างน้าน แต่จะเห็นว่าจากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดข้างต้น ยังไม่รวมปัญหาหยุมหยิมอีกพอสมควร ทั้งหมดนั้นมันเป็นเพราะความอยากได้มันเยอะเกินไป ในความเป็นจริงแล้วที่ว่าเราต้องการ Management นั้น มันไม่จำเป็นจะต้อง Managment ทุกจุด และในความเป็นจริงแล้ว เราก็ไม่ต้องการ VLAN ซะทุกจุด



จินตนาการใหม่ ๆ

สมมตินะครับสมมติ...แฮ่ ว่าเรามีเครื่องซัก 20 เครื่อง แบบนี้ไม่ยากเลยครับ ราคาเน็ตเวิร์คโดยรวมก็จะไม่แพงมาก ก็แค่สวิตช์แบบ Management แบบ 24 พอร์ตแค่เพียงตัวเดียวก็อยู่มือแล้ว ทีนี้ก็ลองสมมติอีกทีว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้น คือหนึ่งแผนก



หนึ่งแผนกในที่นี้ หมายความว่า เมื่อเราต้องการจะทำ VLAN เพื่อ Security หรือต้องการจะจำกัดขอบเขตของ Broadcast เราก็จะทำในระดับแผนก เมื่อเราต้องการจะ Manage เราก็จะจัดการทีละแผนก และเมื่อเราต้องการ Monitor เราก็จะดูพฤติกรรมการใช้เน็ตเวิร์คกันทีละแผนก และเช่นเดียวกัน ถ้าเราจะต้องการทำ Backup link ด้วย Spanning Tree เราก็จะสร้าง Backup link นั้นให้กับระดับกลุ่มของแผนก



จากเน็ตเวิร์ค 20 เครื่อง ตอนนี้ในจินตนาการของเรากลายเป็น 20 แผนกไปซะแล้ว



ลองจินตนาการลึกลงไปอีกหน่อยว่า เครื่องในแผนกของเรามีอยู่กี่แบบ เป็นแบบที่ไม่เกิน 7 เครื่อง หรือแบบไม่เกิน 15 เครื่อง และถ้าแผนกไหนมีเกินกว่า 15 เครื่อง ก็จับแผนกนั้นมาสับแบ่งออกเป็นส่วยย่อย ๆ ส่วนละไม่เกิน 15 เครื่องซะ



ทีนี้ก็ต่อเชื่อมจินตนาการทั้งหมดเข้าหากัน เราก็จะได้สวิต์ที่เป็น Management จำนวน 1 ตัวอยู่ตรงกลาง ที่โยงสายไปหาแต่ละแผนก และไปแตกกระจายเป็นพอร์ตย่อย ๆ ในแผนกได้อีกหลาย ๆ เครื่องโดยการใช้สวิตช์ธรรมดาที่สุดเท่าที่จะหาได้



จะเห็นว่า Network ลักษณะนี้ เรายังคงได้คุณสมบัติของ Management เหมือนเดิม และเหมาะสมกับการบริหารระบบเครือข่าย "ในระดับแผนก ไม่ใช่ในระดับรายเครื่อง" ซึ่งสาย UTP แต่ละเส้นที่พุ่งออกจากสวิตช์ Management ที่อยู่ตรงกลางกระจายไปยังแต่ละแผนก จะรับผิดชอบเครื่องไม่เกิน 15 เครื่อง นั่นคือการรับโหลดของสาย UTP 100 เมกะบิตสำหรับ 15 เครื่องก็ถือว่าเหมาะสม และจำนวนโหลดสูงสุดของสวิตช์ Management ที่อยู่ตรงกลางก็ไม่เกินกว่า 300 เครื่องโดยเฉลี่ย ก็พอฟัดพอเหวี่ยง



ขยายความคิด

เวลาที่เราจะออกแบบระบบเครือข่ายที่มีงบไม่มากนัก ผมอยากจะแนะนำว่า เมื่อเสร็จสิ้นการออกแบบแล้ว ให้เอาราคาของสวิตช์ที่ต้องใช้ทั้งหมดเป็นตัวตั้ง แล้วก็หารด้วยจำนวนพอร์ตทั้งหมดที่ได้รับ ท่านจะได้ราคาต่อพอร์ตโดยเฉลี่ยของเน็ตเวิร์ควงนี้ ไม่ต้องไปสนใจและไม่ต้องตั้งคำถามครับว่า จะต้องแยกระหว่างพอร์ตแบบ Gigabit กับพอร์ต 10/100 หรือไม่ ก็จับมันหารซะทั้งหมดนั่นแหละครับ เพื่อให้ได้ราคาต่อพอร์ตโดยเฉลี่ย



ทีนี้เรามาตั้งคำถามว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ราคา 2 หมื่นกว่าบาท เมื่อนำมาเสียบกับเน็ตเวิร์คแล้ว เราจะต้องลงทุนเพิ่มกับเครื่องนั้นด้วยราคาพอร์ตละกี่บาท



ตั้งคำถามต่อไปอีกว่า ใครเป็นคนใช้เครื่องนั้นอยู่ คุ้มหรือไม่กับราคาพอร์ตขนาดนั้น

ถ้าตอบว่าไม่คุ้มหรือแพงเกินไป ก็ลองถามดูว่าจะทำอย่างไรให้ราคาพอร์ตสำหรับเครื่องนั้น มันถูกลงเดี๋ยวดีไซน์ดี ๆ มันก็หลุดออกมาเองแหละครับ



จะเห็นว่าที่แนะนำมาข้างต้นทั้งหมด ผมไม่ได้บอกว่าเราจะต้องตัดฟีเจอร์นั้นฟีเจอร์นี้ออกนะครับ เรายังคงเอาไว้ครบถ้วน เพียงแต่มันไม่ได้แทรกซึมเข้าไปทุกรูขุมขนในเน็ตเวิร์คเท่านั้นเอง ผมแค่จัดใหม่ ส่วนไหนที่ไม่ได้ใช้ เราก็ตัดทิ้งไม่ต้องใช้ ส่วนไหนที่ต้องใช้เราก็คงไว้ แบบนี้ผมว่าประหยัดตังค์ได้โขอยู่



Downtime ที่น้อยลง

คำว่า Downtime เป็นคำที่น่ากลัวสำหรับ Admin เพราะมันหมายถึงระยะเวลาในการปิดระบบ ในทางเดียวกัน ก็หมายถึงจำนวนชั่วโมงที่ทุกคนจะจ้องมาที่ Admin เพียงคนเดียว สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด Downtime ได้ก็คือสวิตช์เสีย ออฟฟิศทางที่นี่ Downtime เป็นเรื่องที่ยอมกันไม่ได้ครับ เพราะธุรกิจอาจจะพังพินาศได้เพราะ Downtime นี่เอง



วิธีการลด Downtime ให้น้อยลงที่สุดก็คือการมีสวิตช์สำรองเอาไว้ใช้งานครับ มันเป็นวิธีการที่เร็วที่สุดในการกู้ระบบให้กลับฟื้นขึ้นมาทำงาน คือถ้าสวิตช์เสียก็ไม่ต้องรำวงให้มากเรื่อง จับเปลี่ยนมันซะเดี๋ยวนั้น เรื่องตรวจเช็คค่อยว่ากันอีกที



ทีนี้ถ้าระบบของเราเต็มไปด้วยสวิตช์ราคาแพง การที่จะจัดซื้อสวิตช์มาตั้งทิ้งไว้และเรียกมันว่าเป็นตัวสำรอง มันก็เป็นเรื่องทำใจไม่ค่อยได้ แต่ถ้าเราใช้สวิตช์ราคาถูก ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ การซื้อตัวสำรองก็พออนุโลมได้ ช้ำใจน้อยหน่อย



ลดความยุ่งยากในการดูแล

ก็บอกแล้วไงครับว่า Admin เนี่ย ค่าตัวแพง แต่ละชั่วโมงของ Admin ควรจะถูกใช้งานให้คุ้มค่า ไม่ใช่มานั่งจัด config ของสวิตช์ จะปรับปรุงอะไรเกี่ยวกับเน็ตเวิร์คซะที เสียเวลา config และทดสอบอีกร่วมครึ่งวัน อย่างนี้ไม่คุ้มครับ แต่ถ้าเป็นแบบเสียบแล้วลุย (Plug and Play) อย่างสวิตช์พื้นฐาน อย่างนี้ Admin ไม่เสียเวลาครับ ติดตั้งสวิตช์แล้วก็เสียบสาย แล้วก็ไปทำอย่างอื่นที่มันคุ้มค่ากว่านี้ได้อีกเยอะ



สวิตช์ราคาถูกกับคุณภาพ

บางท่านอาจจะกังวลว่า ระบบจะไม่ทนทายาทถ้าเอาสวิตช์ธรรมดาราคาถูกมาผสมกับสวิตช์ตัวแพง ๆ หรือระบบจะไม่เสถียรเพราะความไม่เข้ากันของอุปกรณ์ ก็ต้องเรียนอย่างนี้ครับว่า เพราะความแพงของสวิตช์ไม่ได้เป็นตัวแปรในทางเดียวกับความทนทาน หรือเสถียรภาพ หรือมาตรฐานของการเชื่อมต่อ โดยส่วนใหญ่แล้วการจัดระบบเครือข่ายให้ทำงานอย่างแข็งแรง มันเป็นเรื่องของความแม่นยำทางวิชาการของผู้วางระบบและผู้ดูแลระบบหรือ Admin ซะมากกว่า และมากกว่าครึ่งซะด้วยซ้ำ



อยากจะสรุปทิ้งท้ายเอาไว้ตรงนี้ว่า สำรวจความต้องการของท่านให้ชัดเจนก่อนที่จะคิดออกแบบระบบเครือข่าย ทำความเข้าใจกับความจริงและเปิดใจยอมรับ และถ้าตัดสินใจที่จะซื้อของแพง ก็มองไกล ๆ คำนวณค่าใช้จ่ายกันให้ครบ แล้วก็วางแผนใช้มันให้คุ้มค่าที่สุด ไม่งั้นก็ลองแนวคิดแปลก ๆ อย่างที่ผมเสนอมาทั้งหมด เก็บตังค์ไว้ใช้อย่างอื่นดีกว่าครับ



COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน