• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


เทคนิคและวิธีเขียนแผ่นซีดีที่ดี
รายละเอียด :     ปัญหาที่พบบ่อยจากการเขียนแผ่น CD-R ก็คือแผ่นเสีย ซึ่งแน่นอนก็คือการเสียเงินซื้อแผ่นเพิ่มมากขึน

หากเป็นการค้าก็ทำให้ต้นทุนของท่าน สูงตามไปด้วย ในการพิจารณาจะนำ CD-R drive ชนิดไหน

มาเป็นตัวเขียนแผ่น อย่าคำนึงถึงแต่เรื่องราคา ควรคำนึงถึงปัญหาในการเขียนแผ่นด้วย เพราะถ้าแผ่น

เสียมาก ๆ จาก driver ราคาถูก ๆ เมื่อรวมแล้ว อาจกลายเป็นแพงมากได้ เพราะจำนวนการเสียของแผ่น

ที่มีมากเหลือเกิน ดังนั้นการพิจารณา drive CD-R ควรคิดถึงงานที่จะทำด้วย เพราะงานบางชิ้น

ต้องการความเสถึยร ของเครื่องเขียนค่อนข้างมาก เช่น งาน copy แผ่น CD ไป CD-R โดยตรง

จะมีปัญหากับการรับส่งของข้อมูลของค่อนข้างมาก ซึ่งในส่วนนี้ CD-R ที่เป็น SCSI จะได้เปรียบกว่า

IDE เพราะ SCSI จะมีความเสถึยรมากกว่าแต่ราคาจะแพงกว่า IDE ซะด้วยสิ!



ปัญหาของแผ่นที่เสียถึงแม้ drive จะมีส่วนร่วมทำให้เสียก็จริงแต่ปัจจัยอื่นก็มีส่วนร่วมอีกมาก

ถึงแม้จะได้ drive ที่ดีก็ตาม โดยปัจจัยต่าง ๆ พอจะสรุปได้คร่าว ๆ ถึงแม้จะไม่หมดทุกเรื่อง

แต่เป็นปัญหาพื้นฐานที่ผู้เขียนพบและก็ทำให้เสียแผ่นไปจำนวนพอสมควรทีเดียว



ในส่วนนี้เราจะเขียนถึงปัญหาทั้งหมดที่เคยพบ และท้ายสุดจะเขียนถึงวิธีแก้ไขเบื้องต้นเพื่อให้ท่าน

สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้



ปัญหาจากแผ่นเสียพอจำแนกออกเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้

- ปัญหาที่เกิดจากแผ่นด้วยคุณภาพ

- ปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมของเครื่อง computer

- การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น จากปัญหาที่พบมาทั้งหมด



- ปัญหาของแผ่นเสียที่เกิดจากแผ่นด้อยคุณภาพ

1. แผ่นที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน โดยส่วนใหญ่จะทำออกมาเป็นแผ่นราคาถูกเพื่อให้น่าสนใจที่จะนำไปใช้งาน

แต่ไม่ได้หมายความว่าแผ่นที่มีราคาสูงจะดีทุกแผ่นดังนั้นควรเปรียบเทียบแต่ละยี่ห้อด้วยการสุ่มหรือถาม

จากคนที่เคยใช้มาก่อน เท่าที่ผู้เขียนเคยพบยังมีการนำแผ่นเกรด B มาขายในราคาเท่ากับแผ่น เกรด A ก็มี

ดังนั้น ราคาก็ไม่ใช่ตัวตัดสินได้ว่าแผ่นจะดีหรือไม่ท่านควรเทียบจากการใช้งาน

2. ปัญหาแผ่นที่ไม่เข้ากันกับ drive CD-R ก็มีส่วนทำให้แผ่น เกรด A บางตัวใช้งานไม่ดี เพราะตัว drive CD-R

เองก็ไม่ใช่จะเข้ากันกับ แผ่นได้ทุกยี่ห้อ ดังนั้นท่านควรเลือกแผ่นที่ท่านใช้แล้วมีปัญหากับ Drive ตัวของท่าน

น้อยที่สุด



- ปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมของเครื่อง computer

1. ปัญหาที่เกิดจาก Power Supply ที่จ่ายไปไม่พอกับความต้องการของเครื่องทั้งระบบ ซึ่งเท่าที่เคยเจอ

แผ่นเขียนได้ไม่จบ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งท่านใช้แผ่นที่ดีแล้วก็ตาม ซึ่งอาการนี้ค่อยข้างตรวจเจอยาก

แต่ก็ทำความเสียหายได้มากมายทีเดียว "ควรตรวจว่า อุปกรณ์ภายในเครื่องมีมากแค่ไหนและไฟเลี้ยง

เครื่องจะเพียงพอหรือไม่เพราะเท่าที่เจอ Power Supply บางตัวมี วัตต์ไม่เต็มแล้วพอเจอการใช้ไฟ

ภายในเครื่องมาก ๆ ก็จะทำให้ไฟเลี้ยงตัว CD-R ไม่พอ เพราะ CD-R ขณะเขียนแผ่นจะสดุดไม่ได้เลย

2. อุปกรณ์ต่อพ่วงภายในเครื่องนอกจากปัญหาไฟเลี้ยงเครื่องแล้ว อุปกรณ์ต่อพ่วงบางชิ้น เช่น Sound Card,

Modem Internal, SCSI ที่เป็น slot แบบ PCI ด้วยกันทั้งหมด มักจะพบว่า การแยก IRQ ของ windows

ให้กับ Card เหล่านี้ชนกัน(หมายถึงในเครื่องมีการใส่ Card หลาย ๆ ตัว) บางครั้ง IRQ แก้ไขได้แล้ว แต่

ยังมีเรื่องของ IO อีกอย่างด้วยที่ต้องไม่ให้เกิด conflicts ด้วย (IO = Input Output , conflicts = การ

ที่ windows ใช้ช่องทางข้อมูลเข้าออกซ้ำกันของอุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้น)

3. การตั้ง Screen Saver Mode ถ้าขณะเขียนแผ่น แล้ว windows เข้าสู่ Screen Saver ตามเวลาที่คุณตั้งไว้

ก็อาจเกิดความเสียหายได้ เพราะการรับส่งข้อมูลอาจสะดุดแผ่นก็อาจจะเสียได้ด้วย

4. อุณหภูมิ ขณะทำงาน ถ้าอุณหภูมิของเครื่องเขียนร้อนมาก ท่านอาจได้แผ่นที่เสียก่อนเขียนเสร็จหรือเขียนได้

เสร็จแต่แผ่นใช้งานไม่ได้

5. การรับส่งข้อมูลจากต้นทางเข้าสู่ CD-R มีการสะดุดเพราะการเขียนแผ่น CD-R ห้ามสะดุด ของกับส่งข้อมูล



- การแก้ไขปัญหาที่เจอมาทั้งหมดทั้งที่กล่าวไว้ข้างต้นและไม่ได้กล่าวไว้ด้วย



1. การเลือกแผ่นมาใช้งาน ควรเลือกแผ่นที่เข้ากันได้กับเครื่องที่เรานำมาใช้งาน โดยอาจต้องมีการทดลองบ้าง

ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นแผ่น เกรด A เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แผ่นเกรด A มักไม่ค่อยมีปัญหา บางครั้งเครื่องนั้นก็

ใช้งานได้ดีกับแผ่นเกรด B ด้วย แต่ก็ไม่ใช้กับทุกแผ่น ควรทดลองใช้แผ่นดูว่าตัวไหนใช้ได้ดีที่สุด



2. หากมีการเสียของแผ่นมาก ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ ให้ลองนำ Power Supply มาต่อให้ CD-R ต่างหากอีกตัว

หากปัญหาดังกล่าวหายไป แสดงว่า ไฟเลี้ยงเครื่องของท่านไม่พอ และถ้าท่านใช้ CD-R ที่เป็น IDE ขอแนะนำว่า

หา Power มาเปลี่ยนได้เลย หรือหากมีที่ว่างในเครื่องพอ ก็ต่ออีกตัวเข้าไปเลี้ยง CD-R ต่างหากเลย แต่หากท่าน

ใช้ CD-R ที่เป็น SCSI ท่านไม่ต้องการซื้อ Power ใหม่ หรือ ซื้อตู้ใหม่ ท่านสามารถซื้อเป็น External Box ของ

CD-R SCSI มาใช้ได้เลย เพราะจะมี Power ต่างหากให้ใช้งานได้เลย



3. กรณีที่ใช้ Card ต่าง ๆ หลายตัวที่เป็น Slot แบบ PCI ที่เจอมักมีปัญหาเรื่อง Conflicts ของ IRQ และ IO ของ

windows วิธีแก้คือท่านต้อง ย้ายค่า ต่าง ๆ เหล่านี้เป็น เท่าที่เจอ ผู้เขียนได้ย้าย IRQ ไม่ Conflicts แล้ว แต่

ยังเจอปัญหาของ IO อีกที่ต้องแก้ค่าหนีกันไม่ให้ชนกัน (ให้เข้าไปดูได้จาก mycomputer คลิ๊กขวา เลือก properties

แล้วเข้าไปดูในส่วน Device Manager โดยดูส่วนที่เป็น Card PCI ก่อนได้เลย เช่น ในเครื่องท่านมี Sound Card

เป็น PCI , SCSI เป็น PCI ให้ดูที่ค่าของ Sound Card ได้เลย ซึ่งต้องแก้ไขค่าหนีกันไปจนกว่าจะเขียนได้

วิธีที่จะตรวจว่าใช่หรือไม่ในการที่จะ conflicts จริงหรือไม่ ให้ลองถอด Sound Card ออกดูจะใช้งานเขียนแผ่นได้

ท่านต้องแก้ไขโดยเปลี่ยนค่า IRQ และ IO จนกว่าจะหายหรือ ถอดออกไปเลย หรือให้หา Sound Card ที่เป็น ISA

มาใช้แทน ซึ่งเท่าที่พบไม่ค่อยมีปัญหา หรือเปลี่ยน SCSI Card เป็น ISA แทน แต่หากท่านไม่มีปัญหาตัวนี้โดยท่าน

ใช้ PCI Card ทั้งหมดได้ ท่านก็ควรจดค่า IRQ และ IO เก็บไว้ เผื่อการติดตั้ง Windows ครั้งต่อไป อาจเกิดขึ้น

กับท่านก็ได้



4. ปัญหาที่เกิดจาก การตั้ง Bios บางท่านใช้ Windows 95 แล้ว windows ไม่รู้จัก USB Port โดย

Windows 95 จะขึ้นเครื่องหมาย ! หน้า device ตัว USB เพราะไม่รู้จัก ท่านก็ไม่ควรไป Disable

ตัว USB ใน Bios เพราะสามารถทำให้ Windows ใช้งานเครื่องผิดพลาดได้ด้วย



5. ถ้าท่านชอบตั้ง Screen Saver ท่านควรตั้งให้นานกว่าเวลาที่ใช้ในการเขียน เพื้อป้องการการล่มเพราะเครื่อง

สะดุดจากการที่เครื่องใช้ Screen Saver (การตั้งต้องตั้งค่าทุกตัวให้เกินด้วยเพราะมีผลกับ CD-R ที่เป็น

IDE มากที่สุด) หรือถ้าจะให้แน่ใจให้ Disable ให้หมด



6. เครื่องที่มี RAM ไม่มาก ไม่ควร load โปรแกรมที่ไม่จำเป็นเข้าไปในเครื่องเพราะการทำงานจะช้าลงและอาจสะดุดได้

เช่นกัน



7. Harddisk ควรมีที่ว่าง เพียงพอกับความต้องการใช้งานของโปรแกรมเขียนแผ่น ในที่นี้ขอแนะนำว่าไม่ควรต่ำกว่า

200 MB ถ้าหาก ท่าน copy แผ่น CD ไป CD-R โดยตรง แล้วตั้งค่าที่โปรแกรมเขียนว่า ให้สร้าง Image files ไว้

ที่ Harddisk ก่อนเขียน ซึ่งมีผลทำให้เครื่องไม่ต้องอ่านแผ่นต้อนฉบับตลอด ซึ่งใช้ในการเขียนแบบหลายแผ่น

ต่อเนื่อง โดยโปรแกรมจะอ่านแล้วเขียนข้อมูลไว้ที่ Harddisk แล้วจะอ่านจาก Harddisk ออกมาเขียนแผ่นเลย

ซึ่งขนาดก็จะมีขนาดใหญ่ มาก ท่านควรเหลือพื้นที่ว่าง ไม่ต่ำกว่า 800 MB



8. CD-Rom ที่ใช้อ่านที่มีความเร็ว 34X หรือ 40X แม้แต่ 48X ปัจจุบันซึ่งเป็น เทคโนโลยี่ CAV จะมีความเร็วใน

การอ่านข้อมูลได้ไม่เท่ากันทั้งแผ่น ดังนั้นดังนั้นควรระวังในเรื่องนี้ด้วย เพราะถ้าอ่านข้อมูลได้ไม่ทันตัวเขียน

เพียงนิดเดียวเครื่องเขียนจะหยุดเขียนทันที (ปัญหานี้มักพบในการ copy แผ่น โดยใช้ ตัวอ่านและเขียนเป็น

แบบ IDE ทั้งคู่)



9. ความร้อน ของเครื่องเขียนแผ่น ถ้าหากอุณหภูมิสูงมาก จะมีผลต่อการเขียนแผ่นอย่างมาก เพราะการใช้ เลเซอร์

เขียนแผ่นมีความร้อนมากอยู่แล้ว ถ้าอุณหภูมิเครื่องสูงด้วย ถ้าแผ่นไม่เสียทันที ก็อาจจะเสียหลังจากเสร็จแล้วคือ

อ่านแผ่นไม่ได้ ควรมีการระบายความร้อนที่ดีถ้าใช้งานหนัก หรือควรพักเครื่องบ้าง ถ้าไม่อยากให้ตัวเขียนราคาแพง

เสียไปด้วยกับแผ่น



สรุปการเขียนแผ่นที่ไม่เสียก็คือการป้องกันการสะดุดของข้อมูลต้นทางที่จะเข้าเครื่องเขียนเพราะสะดุดเมื่อไรเสีย

เมื่อนั้น ไฟเลี้ยงต้องเพียงพอกับความต้องการของอุปกรณ์ในเครื่อง Software ต้องติดตั้งโดยไม่เกิดปัญหากับ

การเขียนแผ่น Harddisk ต้องมีที่ว่างพอให้โปรแกรมทำงานได้ การระบายความร้อนต้องดี เพื่อป้องกันปัญหาที่

กล่าวมาทั้งหมด



ทิปโดยคุณ สายฟ้า



COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน