• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


ทำรายงานบน Word แบบเหนือชั้น ตอนที่ 1
รายละเอียด :     วัตถุประสงค์ของบทความตอนนี้

เพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทราบเกี่ยวกับองค์ประกอบของรายงานที่ดีและแนวทางในการสร้างสรรค์งานบนไมโครซอฟต์เวิร์ดเบื้องต้น



เวิร์ดโปรเซสเซอร์หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าโปรแกรมพิมพ์งานนั้นคงเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของผู้ใช้คอมพิวเตอร์แทบทุกคน แต่น้อยคนนักที่จะสามารถใช้ฟีเจอร์ของโปรแกรมเหล่านี้เพื่อสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพออกมาได้ เมื่อทุกคนเห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปแล้วเทคนิคการพิมพ์งานอย่างมืออาชีพจึงได้ถูกละเลยไป



หลายครั้งที่ผมเห็นคนพิมพ์รายงานแยกเป็นไฟล์ย่อย ๆ จนเริ่มสับสน พอพิมพ์เนื้อหาออกมาเป็นกระดาษเรียบร้อยแล้วก็ต้องเอากระดาษนั้นไปพิมพ์เลขหน้าซ้ำอีก นอกจากเป็นการสิ้นเปลืองเวลาแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้อีกด้วย ดังนั้นแล้วในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการสร้างรายงานบนไมโครซอฟท์เวิร์ดอย่างมืออาชีพ รับรองว่ารายงานทั้งเล่มใช้ไฟล์เดียวก็พอ (ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องแรม)



สำหรับในตอนเปิดเรื่องนี้ผมจะขอนำเสนอรูปแบบรายงานที่ดีก่อนครับ เพื่อใช้เป็นโจทย์ซึ่งเราจะได้ตอบกันในตอนต่อ ๆ ไป โดยรายงานที่เลือกเอามาก็ถือเอารูปแบบทั่วไปของวิทยานิพนธ์เป็นหลักเพราะถือว่าหินที่สุดแล้ว หากเราสามารถทำได้ก็สามารถทำรายงานอื่น ๆ ได้เองไปโดยอัตโนมัติ นอกจานี้ผมก็จะขอเกริ่นนำถึงการสร้างสรรค์งานบนไมโครซอฟต์เวิร์ดเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับตอนต่อไป
องค์ประกอบของรายงานที่ดี


  • หน้าปก ประกอบไปด้วยปกนอก และปกในโดยส่วนใหญ่แล้วจะเหมือนกัน ยกเว้นกรณีที่เราให้ร้านเย็บเล่มทำปกนูน ปกนอกก็จะแตกต่างออกไปบ้าง สมัยตอนเด็กผมชอบใช้ฟอนต์ใหญ่ ๆ พิมพ์หน้าปกเพราะว่าพื้นที่ว่างมันเยอะ พอทำงานมากขึ้นจะพบว่าฟอนต์ที่นิยมใช้จะไม่ใหญ่มาก แต่จะมีการจัดพื้นที่ว่างให้เหมาะสมมากกว่า ดังรูปที่ 1



    รูปที่ 1






    สำหรับหน้าปกนี้ยังนิยมใส่ตราสถาบันที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย เป็นการบ่งบอกยี่ห้อว่ามาจากไหน

  • ถัดมากจากปกก็เป็นหน้าก่อนสารบัญ ซึ่งมักจะมีเลขหน้าเป็น ก ข ค ไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็ได้แก่ คำนำ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ ดังในรูปที่ 2



    รูปที่ 2






    เป็นกิตติกรรมประกาศที่เขียนค่อนข้างยาวเลยทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วจะเขียนให้กระชับ แต่ว่าถ้ามีคนต้อขอบคุณเยอะก็ไม่ควรจะยาวเกินหนึ่งหน้า

  • สารบัญ (หรือสารบาญก็ได้ครับ ถ้าชอบความโบราณ) นอกจากสารบัญหลักแล้ว ยังสามารถมีสารบัญย่อยแล้วแต่เนื้อหาเฉพาะของรายงานเล่มนั้น เช่น สารบัญภาพ สารบัญตาราง และรายการศัพท์ย่อต่าง ๆ ในรูปที่ 3 ครับ จะเห็นว่ามีเส้นโยงระหว่างเนื้อหาและเลขหน้าด้วยครับเพื่อจะได้หาเลขหน้าได้สะดวก



    รูปที่ 3



  • สำหรับส่วนถัดไปก็เป็นเนื้อหาของรายงานซักที รายงานที่ดีควรมีการแบ่งเนื้อหาเป็นตอนหรือบท ต่าง ๆ อาทิ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีการทดลอง ผลการทดลองและอภิปราย สรุปผลการดำเนินงาน เป็นต้น อาจมีภาพ ตารางประกอบ หรือสูตรการคำนวณ ก็จะช่วยให้เข้าใจง่ายและดูน่าสนใจยิ่งขึ้น หากนำเนื้อหามาจากแหล่งต่าง ๆ ก็ควรมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง อาทิเช่น การอ้างชื่อ และการอ้างเลขในบรรณานุกรม กรณีที่ไม่ต้องการเขียนชื่อคนเดิมซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ตัวอย่างอยู่ในรูปที่ 4-5 ครับ เป็นการอ้างอิงที่ใช้ตัวเลขและใช้ชื่อคน



    รูปที่ 4




    รูปที่ 5



  • แน่นอนครับรายงานที่น่าเชื่อถือต้องมีบรรณานุกรม ซึ่งก็คือรายการของเอกสารที่เราได้ไปค้นคว้ามาเพื่อประกอบการทำรายงานนี้ รูปแบบการเขียนของแต่ละที่ก็แตกต่างกันออกไป แล้วแต่จะกำหนด ตัวอย่างอยู่ในรูปที่ 6 ครับ



    รูปที่ 6



  • นอกจากนี้หากเรามีเนื้อหาเพิ่มเติมอะไรอีกก็สามารถใส่ไว้ได้ในส่วนของภาคผนวก ช่วยให้ส่วนของเนื้อหาไม่ยาวเกินไป หากต้องการข้อมูลที่เป็นรายละเอียดก็สามารถเปิดดูได้ในภาคผนวกนี้เอง


รูปแบบของการจัดพิมพ์รายงาน

สำหรับสิ่งที่ทำให้การพิมพ์รายงานเป็นปัญหานั้นก็คงเพราะว่ามันต้องแก้ไขหลายรอบ อีกทั้งยังมีข้อกำหนดและรูปแบบที่เราต้องทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ต่างจากการพิมพ์เอกสารหน้าเดียวที่พิมพ์ไปแล้วก็จบไปเป็นแผ่น ๆ จึงไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่สอดคล้องกัน ดังนั้นเรามาดูข้อกำหนดต่าง ๆ ของรายงานโดยทั่วไปกันดีกว่าครับ

  • ฟอนต์ที่ใช้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ Cordia New หรือ Angsana New ขนาดหัวข้อบท 20 pt รองลงมาเป็น 18 pt 16 pt และ 14 pt ตามลำดับ

  • ขอบกระดาษ บน 1.5 นิ้ว (2 นิ้วสำหรับหน้าปกและหน้าแรกของบท) ซ้าย 1.5 นิ้ว ขวาและล่าง 1 นิ้ว

  • การพิมพ์เลขหน้า วัดจากขอบบนและขอบด้านขวามาด้านละ 1 นิ้ว หน้าแรกของบทไม่พิมพ์เลขหน้า

  • รูปแบบการพิมพ์ข้อความ ข้อความจะแบ่งระดับย่อหน้าเข้าไป โดยหัวข้อย่อยต้องย่อเข้าไปจากระดับปกติประมาณ 0.5 นิ้ว

  • รูปแบบการพิมพ์ตาราง รูปภาพ และสมการประกอบ ต้องมีหมายเลขประกอบ เว้นระยะก่อนและหลังหนึ่งบรรทัด มีสารบัญให้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว






จากตัวอย่างของข้อกำหนดเหล่านี้ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายท่านคงต้องตกเป็นลูกค้าของร้านรับพิมพ์งานไปเลย แต่หลังจากอ่านบทความนี้แล้วผมหวังว่าคุณผู้อ่านอาจจะเปลี่ยนใจมาลองพิมพ์เองดูก็ได้ครับ เพราะผมจะนำเทคนิคเด็ด ๆ ที่ตรงกับการใช้งานเหล่านี้มานำเสนอในตอนต่อไป สำหรับในตอนนี้ขอปิดท้ายด้วยการแนะนำโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดเบื้องต้นก่อนครับ ... (ต่อหน้าถัดไป)


ทิปจาก : www.arip.co.th





COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน