• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


การสร้างรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา
รายละเอียด :     ถ้าคุณเคยทำกระเป๋าสตางค์หาย คุณจะทราบถึงความรู้สึกกังวลใจที่เกิดขึ้น ผู้อื่นอาจไปยังที่ต่างๆ โดยมีข้อมูลเฉพาะตัวของคุณ แล้วสวมรอยเป็นตัวคุณ ถ้ามีคนขโมยรหัสผ่านของคุณ เขาจะสามารถทำธุรกรรมออนไลน์ทุกอย่างได้เช่นเดียวกับคุณ แฮกเกอร์อาจเปิดบัญชีบัตรเครดิตใหม่ ขอยื่นเรื่องจำนองทรัพย์สิน หรือสนทนาออนไลน์โดยใช้ชื่อของคุณ ซึ่งกว่าคุณจะรู้ตัวก็สายเกินแก้แล้ว โปรดอ่านรายละเอียดเพื่อศึกษาว่า คุณสามารถช่วยป้องกันข้อมูลเฉพาะตัวของคุณขณะออนไลน์ได้โดยการสร้างรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา



การป้องกันรหัสผ่านของคุณ

แฮกเกอร์ใช้เครื่องมือด้านซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการเข้าถึงรหัสผ่านที่คล้ายกันนับพันได้อย่างรวดเร็ว เพื่อค้นหารหัสผ่านที่เดาได้ง่าย คุณสามารถช่วยป้องกันความปลอดภัยของคุณได้โดยการใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา จัดการรหัสผ่านของคุณด้วยความละเอียดรอบคอบ และติดตามดูแลแอคเคาท์ของคุณอย่างใกล้ชิด



ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้รหัสผ่านคาดเดาได้ยาก

สิ่งที่ท้าทายความสามารถ คือ การสร้างรหัสผ่านที่คุณสามารถจดจำได้ แต่ผู้อื่นสามารถคาดเดาได้ยาก โปรดดูคำแนะนำทั่วไปต่อไปนี้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถสร้างรหัสผ่านได้ดีขึ้น



สิ่งที่ควรทำในการสร้างรหัสผ่าน

- ใช้รหัสผ่านที่ยาว (อย่างน้อย 7 ตัว)

- ใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข รวมทั้งสัญลักษณ์ต่างๆ ประกอบกัน

- ใช้สัญลักษณ์อย่างน้อยหนึ่งตัวในตำแหน่งที่ 2 - 6

- ใช้ตัวอักษรที่แตกต่างกันอย่างน้อย 4 ตัว (อย่าใช้ตัวอักษรซ้ำกัน)

- ใช้ตัวเลขและตัวอักษรแบบสุ่ม



สิ่งที่ไม่ควรทำในการสร้างรหัสผ่าน

- อย่าใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของชื่อผู้ใช้

- อย่าใช้คำที่มีความหมายในภาษาใดๆ

- อย่าใช้ตัวเลขที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับตัวอักษรในการคิดคำ

- อย่าใช้ตัวอักษรหรือหมายเลขที่เรียงต่อกัน (เช่น "abcdefg" หรือ "234567")

-อย่าใช้แป้นพิมพ์ที่อยู่ติดกัน (เช่น "qwerty")



การจัดการรหัสผ่านที่ดีขึ้น

คุณจะรู้สึกแปลกใจที่มีคนจำนวนมากเขียนรหัสผ่านที่เป็นความลับของตน แล้วติดไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือพับไว้ในลิ้นชักข้างเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดดูคำแนะนำต่อไปนี้ ซึ่งจะช่วยคุณในการจัดการรหัสผ่านของคุณอย่างปลอดภัยมากขึ้น



สิ่งที่ควรทำในการจัดการรหัสผ่าน

- เก็บรหัสผ่านของคุณไว้เป็นความลับ

- ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละเว็บไซต์

- เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน



สิ่งที่ไม่ควรทำในการจัดการรหัสผ่าน

- อย่าเขียนลงในกระดาษ

- อย่าใช้คุณสมบัติ "จำรหัสผ่าน" บนเว็บ



การสร้างรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น การสร้างรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาสามารถช่วยป้องกันการขโมยข้อมูลเฉพาะตัวของคุณ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวยังรับประกันไม่ได้ว่าคุณได้รับการป้องกัน นอกเหนือจากขั้นตอนต่างๆ ที่ได้อธิบายไว้แล้ว ให้ตรวจดูเอกสารทางการเงินในแต่ละเดือนของคุณ แล้วติดต่อไปยังบริษัทหรือธนาคารที่เกี่ยวข้องทันทีเพื่อรายงานปัญหา รวมทั้งตรวจดูรายงานการใช้เครดิตของคุณในแต่ละปีด้วย การดำเนินการทั้งหมดนี้จะสามารถช่วยป้องกันข้อมูลเฉพาะตัวของคุณ และอันดับความน่าเชื่อถือของคุณ



ข้อมูล www.microsoft.com



COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน